วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 4 พฤศจิกายน 2557 ครั้งที่ 12




บันทึกอนุทิน

 วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ 
             
  วัน/เดือน/ปี   4  พฤศจิกายน 2557     ครั้งที่ 12 
                 
เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.

เวลาเลิกเรียน   12.20 น.


    สัปดาห์นี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอแผนการสอน  และได้แจก

ตัวอย่างแผนการสอนของรุ่นพี่ให้เป็นแนวในการเขียนแผนการสอน

แผนการสอนของกลุ่มข้าว




  Introduction
     


     คุณครูได้มีการร้องเพลงเพื่อให้เด็กๆสนใจและคุณครูได้ให้เด็กๆหลับตา
     แล้วนำจิกซอว์มาวางไว้ตรงหน้าเด็่กแล้วให้เด็กๆนำจิกซอว์มาต่อเป็น
     รูปแล้วถามเด็กๆว่าเป็นรูปอะไรเด็กๆตอบว่าเป็นรูปซูชิ

Step Instruction


    คุณครูได้ถามย้ำเด็กๆอีกครั้งว่าเราเรียนเรื่องอะไร แล้วอธิบายอุปกรณ์
      การทำและหน้าซูชิแต่ละหน้าว่ามีหน้าอะไรบ้าง แล้วถามเด็กๆว่าใคร
      อยากออกมาทำบ้าง? ถ้าปริมาณเด็กๆเยอะไปคุณครูควรแบ่งเด็กๆ
      ออกเป็นกลุ่มและวนกันทำให้ครบทุกหน้า

Conclusion

     คุณครูได้ถามเด็กๆว่าเด็กๆชอบหน้าอะไรมากที่สุดโดยมีการทำเป็นตาราง
      เด็กๆชอบหน้าไก่ทอดที่สุดรองลงมาคือหมูย่าง หมูอบ


กลุ่มไข่



กลุ่มกล้วย


กลุ่มกบ





สิ่งที่ครูควรรู้ก่อนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้   
        การเขียนแผนการสอนเป็นภาระสำหรับครูผู้สอนทำให้ครูไม่อยากเขียนแผนการสอน   แต่สำหรับหลักสูตร 51  มีแนวทางให้ครูจัดทำหน่วยการเรียนเป็นหน่วยหลายๆคาบ  อนุโลมให้ครูทำแผนการสอนเป็นหน่วยได้     แต่สำหรับครูผู้สอนที่จะทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอกำหนดตำแหน่งหรือเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น  การทำแผนเป็นหน่วยใหญ่ๆนั้นคงไม่ได้  ดังนั้นครูลองมาศึกษาแนวการเขียนแผนการสอนหรือการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ก่อนลงมือเขียนแผนจริง

แนวการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้

1.   ความหมายและกระบวนการจัดการเรียนรู้       
  1.1  แผนการจัดการเรียนรู้  หมายถึง   แผนการสอนนั่นเอง  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี  ควรมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงเหมาะสมกับความสามารถ ความถนัดและความสนใจของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้ค้นพบคำตอบหรือการกระทำด้วยตนเอง ให้ผู้เรียนรับรู้และนำกระบวนการไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน รวมทั้ง  ส่งเสริมการใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สามารถจัดหาได้ในท้องถิ่น โดยครูคอยให้คำแนะนำและดูแลนักเรียน
          1.2  กระบวนการจัดการเรียนรู้   ตามแนวทางปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ 
                    1)   จัดเนื้อหาและกิจกรรมสอดคล้องกับความสามารถ ความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
                    2)   จัดการเรียนรู้ให้เกิดทุกเวลาทุกสถานที่ ประสานกับผู้ปกครอง บุคคลในชุมชนเพื่อพัฒนาผู้เรียน
                    3)    ฝึกทักษะกระบวนการคิด วิเคราะห์ และการแก้ปัญหา
                    4)    จัดให้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้ปฏิบัติจริง คิดเป็น ทำเป็น รู้จักแก้ปัญหา ใฝ่รู้ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่อง
                    5)   จัดการเรียนรู้ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆรวมทั้งปลูกฝัง คุณธรรม ค่านิยมอันพึงประสงค์แก่ผู้เรียน
                    6)    จัดบรรยากาศ  สภาพแวดล้อม สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้  รวมทั้งใช้การวิจัยให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้

2.   สิ่งที่ต้องศึกษาก่อนลงมือเขียนแผนการจัดการเรียนรู้          
          2.1   ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
          2.2   ศึกษามาตรฐานการเรียนรู้  มาตรฐานการเรียนช่วงชั้น
          2.3   วิเคราะห์หลักสูตร
          2.4   ศึกษาธรรมชาติของกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี
          2.5   ศึกษาการวัดผลและการประเมินผล
          2.6   ศึกษาแหล่งเรียนรู้และสื่อ
          2.7   ศึกษาองค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
          2.8   ศึกษาเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย
          2.9   ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้
          2.10  จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้

3.    หลักในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้         3.1   ควรรู้ว่าสอนเพื่ออะไร
         3.2   ใช้วิธีการสอนอย่างไร
         3.3    สอนแล้วผลเป็นอย่างไร

4.   องค์ประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้
          4.1   สาระสำคัญ
          4.2   จุดประสงค์การเรียนรู้
          4.3   เนื้อหา/สาระการเรียนรู้
         4.4   กิจกรรมการเรียนรู้
         4.5   การวัดและประเมินผล (มีเกณฑ์การวัดผลที่ชัดเจน)
         4.6   สื่อและแหล่งเรียนรู้
         47    ความคิดเห็นของผู้บริหาร/ผู้นิเทศ
         4.8   บันทึกผลหลังสอน

5.   ส่วนประกอบของแผนการจัดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์
        5.1   ปก
        5.2   ใบรองปก
        5.3    คำนำ
        5.4   สารบัญ
        5.5   มาตรฐานการเรียนรู้
        5.6   ตารางวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้
        
5.7    ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้รายภาค/รายปี
        5.8    คำอธิบายรายวิชา
        5.9    หน่วยการเรียนรู้
        5.10   แผนการจัดการเรียนรู้
        5.11   สื่อ/นวัตกรรม
        5.12   บรรณานุกรม
6.   แนวทางการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
     
   6.1   สาระสำคัญ
                     สาระสำคัญ   หมายถึง  ข้อความที่เป็นแก่นของเนื้อหาสาระ  หลักการ  ข้อเท็จจริง และแนวคิดต่างๆของเนื้อหาสาระของแผนการสอนนั้น
          วิธีเขียน
                    1)  เขียนอย่างสรุป กระชับ
                    2)  ใช้คำที่มีความหมายเจาะจง แน่นอน เช่น  “เป็น”  “ประกอบ”  “หมายถึง”  “คือ”
                    3)   เป็นการขยายชื่อเรื่อง
                    4)   เขียนเป็นความเรียงหรือเป็นข้อก็ได้  ส่วนใหญ่นิยมเป็นความเรียง
                    5)  เริ่มด้วยสิ่งที่จำเป็นและสำคัญที่สุดของเนื้อหาก่อนแล้วตามด้วยรายละเอียดที่สำคัญ
เช่น  เขียนชื่อเรื่อง  ตามด้วย   เป็น /หมายถึง/คือ  แล้วตามด้วย  ข้อความขยายชื่อเรื่อง
       
 6.2  จุดประสงค์การเรียนรู้
                       การเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ เป็นการบอกให้ทราบว่าเมื่อสิ้นสุดการสอนแล้วผู้เรียนจะทำอะไรได้บ้าง
     
   วิธีเขียน
                  
1)   เขียนให้สอดคล้องกับผลการเรียนที่คาดหวัง และมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
                
  2)   เขียนให้สังเกตได้ วัดได้
                  
3)   การเขียนมีองค์ประกอบ  3  ส่วน
             
       ส่วนที่ 1   เป็นพฤติกรรม (ใช้คำกริยา)
                    
       ส่วนที่ 2   เงื่อนไขหรือสถานการณ์
                         
       ส่วนที่ 3   เกณฑ์ (ความสามารถขั้นต่ำในการบรรลุจุดประสงค์ )
     
   6.3  เนื้อหาสาระ/สาระการเรียนรู้
                 
  1)   เขียนให้มีความถูกต้อง
                
    2)   เขียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ข้อต่อข้อ
                 
   3)   เขียนเนื้อหาใหญ่   เนื้อหาย่อยและมีรายละเอียดของเนื้อหา
        
6.4   กิจกรรมการเรียนรู้
      
            1)  กิจกรรมที่จัดควรเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ยกตัวอย่าง   เช่น
                    
        •  กิจกรรมการซักถาม  คือการตั้งคำถามให้ช่วยกันตอบ  อาจซักถามเป็นกลุ่มหรือในชั้นเรียน  เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน  หรือกิจกรรมที่ปฏิบัติ
                       
     • กิจกรรมการอภิปราย  หัวข้อการอภิปรายอาจเป็นข้อความหรือเป็นคำถามก็ได้  (ส่วนใหญ่นิยมหัวข้อที่เป็นคำถาม)  ผู้อภิปรายแต่ละคนจะแสดงเหตุผลหรืออธิบายเพื่อสนับสนุน หรือโต้แย้งหัวข้อที่กำหนดโดยไม่มีการแบ่งฝ่าย  และไม่มีการลงมติ  อาจจะเป็นการอภิปรายปากเปล่าในกลุ่มหรือในชั้นเรียนและอาจให้ทุกคนเขียนสรุปผลการอภิปราย 
                      
      • กิจกรรมการแสดงความคิดเห็น  คือการตั้งข้อสังเกต  หรือให้ข้อสรุป  ตามความติดเห็นหรือตามเหตุผลของแต่ละบุคคลโดยไม่จำเป็นต้องสนับสนุนหรือคัดค้าน  อาจแสดงความเห็นโดยพูด  หรือเขียน  ถ้าเป็นการเขียนจะมีลักษณะทำนองเดียวกับการตอบคำถามที่ต้องการให้แสดงความเห็นหรือเหตุผลประกอบคำตอบในคำถามประเภทให้ตอบเสรี
                     
       • กิจกรรมการค้นหา  คือการศึกษาค้นคว้าหาข้อเท็จจริง  ข้อมูลสาระสนเทศ  หรือทักษะกระบวนการ(การกระทำหลายการกระทำ ซึ่งกระทำต่อเนื่องกันไปเป็นชุดเพื่อให้เกิดผลอย่างหนึ่ง)  ซึ่งอาจทำโดยการรวบรวมหรือสืบค้นข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และสังคมวัฒนธรรม การบันทึก  วิเคราะห์  สังเคราะห์  การทดลอง  การตรวจสอบกฎหรือหลักการทางเศรษฐ์ศาสตร์  การหาคำตอบในวิชาคณิตศาสตร์  การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
                  
  2)  เทคนิคการเขียนกิจกรรมการเรียนรู้
                     
        • เขียนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และสาระสำคัญ
                        
      • จัดกิจกรรมที่หลากหลายเน้นให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้
                      
        •  ใช้กระบวนการเรียนที่เหมาะสม
          
 6.5    การวัดผลและประเมินผล
                 
   1)   เขียนได้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ข้อต่อข้อ
                   
  2)   มีองค์ประกอบย่อยครบถ้วน  เช่น
                         
   •  วิธีวัด
                         
    •  เครื่องมือวัด
                         
    •  เกณฑ์การวัดที่ชัดเจน
         
   6.6  สื่อและแหล่งเรียนรู้
                
   1)   สื่อเหมาะสม  สอดคล้องกับเนื้อหา/ สาระการเรียนรู้  กิจกรรมการเรียนการสอนและผู้เรียน
              
     2)   เรียงลำดับให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
                
    3)   ระบุสื่อ/ แหล่งเรียนรู้ที่ชัดเจน
         
   6.7    การวัดผลและประเมินผล
                 
   1)   เขียนได้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ข้อต่อข้อ
                   
 2)   มีองค์ประกอบย่อยครบถ้วน  เช่น
                    
     •  วิธีวัด
                                                                                                       
     •  เครื่องมือวัด
                      
    •  เกณฑ์การวัด
          
  6.8    บันทึกผลหลังสอน

7.   แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ  สังเกตได้ดังนี้
         
   7.1    มีองค์ประกอบครบถ้วน
          
  7.2    เขียนแต่ละองค์ประกอบได้ถูกต้อง ชัดเจน
         
   7.3    องค์ประกอบของแผนมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน
         
   7.4    นำกระบวนการสอนมาใช้อย่างเหมาะสม
         
   7.5    เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการเรียนรู้แล้วผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนด
          
   7.6    บันทึกผลหลังสอนได้ชัดเจน


ประเมินตนเอง

  แต่งการเรียบร้อย ตั้งใจเรียน  ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ แผนการสอนยังไม่เรียบร้อย สื่อที่เตรียมมาไม่ครบจึงไม่ได้สอนแผน


ประเมินเพื่อน

แต่งการเรียบร้อย ตั้งใจเรียนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ตั้งใจเรียนและฟังข้อสรุปของอาจรย์ที่เพื่อนได้นำเสนอแผนการสอนแต่ละกลุ่ม

ประเมินอาจารย์
  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการเตรียมการสอนมาดีทุกครั้ง มีการนำแผนการสอนของรุ่นพี่มาให้ดูเป็นตัวอย่างเพื่อชี้แนะแนวทางการเขียนแผนให้ดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น










บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 28 ตุลาคม 2557 ครั้งที่ 11

 

บันทึกอนุทิน


 วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ 
             
  วัน/เดือน/ปี   28  ตุลาคม 2557     ครั้งที่ 11 
                 
เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.

เวลาเลิกเรียน   12.20 น.


        สัปดาห์นี้อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องแนวคิดพื้นฐาน ในโลกนี้มีการ

เปลี่ยนแปลง แตกต่าง จึงมีการทดลองเกิดขึ้น เพื่อหาเหตุผลที่เกิด

ขึ้น

Science  Experiment

วัสดุอุปกรณ์

  1. ไม้ขีดไฟ
  2. เทียน
  3. แก้ว
  4. ดินน้ำมัน
  5. กระดาษ
  6. ขวดน้ำ
 




การทดลองทำไมไฟถึงดับ 
 
 
  การทดลองวางถ้วย จุดไฟ ตัดเทียนให้สั้นเพื่อให้แก้วคลอบเทียนได้ ตั้งสมมุติฐานว่าเอาแก้วคลอบ

เทียนแล้วจะเกินอะไรขึ้นเทียนดับเพราะไม่มีอากาศเข้าไม่ได้เกิดที่เราเอาแก้วไปคลอบเทียนไว้

Interesting  Experimente

1. ออกซิเจนช่วยให้ไฟติด
     วิธีทำการทดลอง นำเทียนไขมา 1 แท่ง แก้วน้ำ 1 ใบ ไม้ขีดไฟ 1 กลัก แล้วจุดเทียนไข ให้ติดไฟ ตั้งเทียนไว้ให้มั่นคง จากนั้นเอาแก้วน้ำ มาครอบเทียนไข ที่จุดไว้ ให้ทำการสังเกต และบันทึกผล การทดลอง
ผลการทดลอง จะพบว่า เมื่อเราใช้แก้ว ครอบเทียนไข ลักษณะของเปลวไฟ จะค่อยหรี่ลงๆ จนในที่สุดเทียนไขจะดับ เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะ ในอากาศมี ออกซิเจนอยู่ ซึ่งออกซิเจน มีคุณสมบัติที่ ช่วยในการติดไฟ เมื่อเราครอบแก้วลงไป เทียนไขจะสามารถ ส่องสว่าง ต่อไปได้อีกสักครู่หนึ่ง จนเมื่อออกซิเจน ถูกเผาไหม้หมด เทียนไข ก็จะดับลงทันที

2. แสงเดินทางเป็นเส้นตรง
    วิธีทำการทดลอง หากระดาษแข็งมา 3 แผ่น แล้วเจาะรูตรงกลางทุกแผ่น จากนั้นนำกระดาษ ทั้ง 3 แผ่น มาเรียงให้รูตรงกลาง อยู่ตรงกัน จุดเทียนไข 1 แท่ง ให้ติดไฟ ตั้งไว้หลังแผ่นกระดาษทั้ง 3 แผ่น ให้พอมองผ่านรูในกระดาษทั้ง 3 แผ่นได้ แล้วลองขยับกระดาษแผ่นใดแผ่นหนึ่ง โดยพยายามไม่ให้รูตรงกัน ให้ทำการสังเกต และบันทึกผล การทดลอง
ผลการทดลอง จะพบว่า เมื่อรูกระดาษในกระดาษ อยู่ในตำแหน่งที่ตรงกัน เราก็จะสามารถ มองเห็นเทียนไขได้ เมื่อเราขยับ แผ่นกระดาษ แผ่นใดแผ่นหนึ่ง เราจะไม่สามารถมองเห็น แสงของเทียนไขได้ เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะ คุณสมบัติของแสง ที่เดินทาง เป็นเส้นตรงเสมอ

3. อากาศมีตัวตนและมีแรงดัน

วิธีทำการทดลอง หาลูกโป่งมา 1 ลูก วางไว้บนโต๊ะ แล้วหาหนังสือเล่มหนาๆ มาวางทับ บนลูกโป่ง จากนั้นให้เป่าลูกโป่ง ให้พองตัวขึ้นทีละน้อยๆ แล้วทำการสังเกต และบันทึกผล การทดลอง
ผลการทดลอง จะพบว่า เมื่อเราเป่าลูกโป่ง ให้พองตัวขึ้น ทีละน้อย ลูกโป่งจะสามารถ ยกหนังสือขึ้นได้ ยิ่งเป่าลมเข้าไปมากเท่าใด หนังสือก็จะถูกยกสูง มากขึ้นเท่านั้น เหตุที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะ อากาศมีตัวตนและมีแรงดัน


ดอกไม้บาน





Methods

1.ตัดกระดาษให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและพับครึ่ง

2.ฉีกกระดาษให้เป็นรูปดอกไม้เหมือนภาพที่3ข้างบน

3.พับกรีบดอกไม้ที่ละอันพับให้ครบทั้งสี่ด้านจะได้เป็นรูปสี่เหลี่ยมเหมือนภาพที่4ข้างบน

Beeause Flowere


 มันจะค่อยๆเปียกที่ละนิดทำให้น้ำซึมกระดาษค่อยๆคลี่ออกมาแล้วลอยตัวได้

The flowers do not bloom

 เราอาจจะพับกรีบดอกไม้จากกระดาษแน่นไปทำให้เวลาเอาไปลอยน้ำกระดาษเลยไม่บานออก

การทดลองเอาปากกาใส่ในน้ำ




การทดลองของขวดน้ำ



การทดลองการจมของดินน้ำมัน




ประเมินตนเอง

   วันนี้มาเรียนสาย แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมกับ

เพื่อนรวมห้อง


ประเมินเพื่อน

    วันนี้เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมการทดลอง และช่วย

กันตอบคำถาม แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียน

ประเมินอาจารย์


   วันนี้อาจารย์เตรียมสื่อที่นำมาทดลองให้นักศึกษาได้ทดลองและ

ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆ และมีการเตรียมการสอนได้ดี  เข้าสอน

ตรงต่อเวลา


วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 21 ตุลาคม 2557 ครั้งที่ 10


 บันทึกอนุทิน


 วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ 
             
  วัน/เดือน/ปี   21  ตุลาคม 2557     ครั้งที่ 10 
                 
เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.

เวลาเลิกเรียน   12.20 น.


กิจกรรมภายในวันนี้

วันนี้อาจารย์ให้โอกาสนักศึกษาคนไหนที่ยังไม่ได้นำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์

และสอนการเขียนแผนของแต่ละกลุ่ม และบอกแนวคิดในการเขียนแผนแต่ละหน่วย

ว่ามีเทคเทคในการเขียนแผนที่ใช้สอนอย่างไร   การจัดประสบการณ์ที่สำคัญ

การบูรณาการในการเขียนแผนของหน่วยแต่ละกลุ่ม



แผนของกลุ่ม ทุเรียน




องค์ความรู้ที่ได้รับ

          การนำศาสตร์หรือความรู้วิชาต่างๆที่สัมพันธ์กันนำมาเข้าด้วยกันหรือผสมผสานได้อย่างกลมกลืน 

เพื่อนำมาจัดเป็นการเรียนการสอนภายใต้หัวข้อเดียวกัน เชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมี

การเน้นองค์รวมของเนื้อหามากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชา และเน้นการสร้างความรู้ของผู้เรียน

ที่มากกว่าการให้เนื้อหาโดยครูเป็นผู้กำหนด


 ลักษณะสำคัญของการสอนแบบบูรณาการ


1. เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้ กระบวนการ และการปฏิบัติ
2. เป็นการบูรณาการระหว่างวิชาได้อย่างกลมกลืน
3. เป็นการบูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนกับชีวิตจริง
4. เป็นการบูรณาการเพื่อจัดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาต่างๆ
5. เป็นการบูรณาการให้เกิดความสัมพันธ์กันระหว่างความคิดรวบยอดของวิชาต่างๆ เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย



จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

การจัดการเรียนการสอนในการเขียนแผนการสอนของครูผู้สอนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท (การเขียนแผนแบบบูรณาการมีมากกว่านี้  ตามความเหมาะสม) ดังนี้

(1) การบูรณาการภายในวิชา มีจุดเน้นอยู่ภายในวิชาเดียวกันอาจนำวิชาต่างๆที่สัมพันธ์กันมาบูรณาการกันเองของวิชานั้นและไม่แยกหรือขยายไปกับวิชาอื่น

(2) การบูรณาการระหว่างวิชา มีจุดเน้นอยู่ที่การนำวิชาอื่นเข้าเชื่อมโยงด้วยกัน ตั้งแต่ 2 วิชาขึ้นไป โดยภายใต้หัวข้อเดียวกันว่าวิชาใดที่สามารถนำเข้ามาบูรณาการด้วยกันได้ ไม่จำเป็นว่าต้องทุกวิชาหรือทุกกลุ่มประสบการณ์เข้าด้วยกัน หรืออาจครบทุกวิชาหรือทุกกลุ่มประสบการณ์ก็ได้

การวางแผนการจัดทำแผนแบบบูรณาการ
     
     การจัดทำแผนการสอนแบบบูรณาการ เป็นการนำวิชาหรือสาระการเรียนรู้ต่างๆที่มีความสัมพันธ์กันมาเชื่อมโยงกัน ซึ่งสามารถทำได้โดยการสร้างหัวข้อเรื่องที่มีความสอดคล้องกับวิชานั้นๆเข้าด้วยกัน ผู้สอนต้องคำนึงสิ่งต่อไปนี้
1. การเลือกหัวเรื่องจากประเด็นต่างๆที่ต้องการเรียน เช่น ประเด็นแนวคิด ประเด็นของเนื้อหา เมื่อได้แล้วนำจุดประสงค์ของแต่ละรายวิชาที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน เข้ามาสร้างเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
2. การนำจุดประสงค์ของรายวิชาต่างๆที่สัมพันธ์กันมาสร้างเป็นหัวข้อเรื่องและนำมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ

ประโยชน์ของการบูรณาการ

1. เป็นการนำวิชาหรือศาสตร์ต่างๆเชื่อมโยงกันภายใต้หัวข้อเดียวกัน
2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนที่ลึกซึ้ง และมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริง  
3. ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ความเข้าใจในลักษณะองค์รวม
4. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ความเข้าใจจากสิ่งต่างๆที่มีอยู่รอบตัว
5. เป็นแนวทางที่ช่วยให้ครูได้ทำงานร่วมกัน หรือประสานงานร่วมกันอย่างมีความสุข
6. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูได้คิดวิธีการหรือนำเทคนิคใหม่ๆมาใช้


ทำอย่างไรจึงจะจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ

1. ครูมีความเชื่อมั่นและเข้าใจตรงกันในเรื่องการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
2. ครูได้วางแผน ได้คิดกระบวนการเรียนรู้ และมีการประเมินผลร่วมกัน
3. ต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้ผู้เรียนสามารถค้นหาคำตอบได้ด้วยตนเองและได้ลงมือปฏิบัติจริง
4. เน้นการเรียนรู้ที่เกิดจากการนำวิชาต่างๆเชื่อมโยงกันมากกว่าที่จะเกิดจากเนื้อหาใดเนื้อหาหนึ่งเท่านั้น
5. มีการนำข้อมูล ทรัพยากรท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้แบบองค์รวมหรือแบบบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

   สามารถนำแนวทางในการเขียนแผนไปใช้ในการสอนเด็กได้ใน

แต่ละหน่วย  โดยการเขียนแผนจะต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์  การวัด

และประเมินผล  และการรับรู้ถึงพฤติกรรมทั้ง 4 ด้าน


ประเมินตนเอง

แต่งการเรียบร้อย ตั้งใจเรียน 

ประเมินเพื่อน

ตั้งใจเรียน  และตอบคำถามภายในห้อง แต่งกายเรียบร้อย   ช่วยกัน

ระดมความคิดทำแผนการสอนของตนเอง


ประเมินอาจารย์


อาจารย์ให้ความรู้ในการเขียนแผนการสอน  และบอกแนวการเขียน

เพื่อใช้ในการสอนเด็กอนุบาล