บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 21 ตุลาคม 2557 ครั้งที่ 10
เวลาเข้าสอน 08.00 น. เวลาเรียน 08.30 น.
เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
กิจกรรมภายในวันนี้
วันนี้อาจารย์ให้โอกาสนักศึกษาคนไหนที่ยังไม่ได้นำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์
และสอนการเขียนแผนของแต่ละกลุ่ม และบอกแนวคิดในการเขียนแผนแต่ละหน่วย
ว่ามีเทคเทคในการเขียนแผนที่ใช้สอนอย่างไร การจัดประสบการณ์ที่สำคัญ
การบูรณาการในการเขียนแผนของหน่วยแต่ละกลุ่ม
แผนของกลุ่ม ทุเรียน
องค์ความรู้ที่ได้รับ
การนำศาสตร์หรือความรู้วิชาต่างๆที่สัมพันธ์กันนำมาเข้าด้วยกันหรือผสมผสานได้อย่างกลมกลืน
เพื่อนำมาจัดเป็นการเรียนการสอนภายใต้หัวข้อเดียวกัน เชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมี
การเน้นองค์รวมของเนื้อหามากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละรายวิชา และเน้นการสร้างความรู้ของผู้เรียน
ที่มากกว่าการให้เนื้อหาโดยครูเป็นผู้กำหนด
ลักษณะสำคัญของการสอนแบบบูรณาการ
1. เป็นการบูรณาการระหว่างความรู้ กระบวนการ และการปฏิบัติ
2. เป็นการบูรณาการระหว่างวิชาได้อย่างกลมกลืน
3. เป็นการบูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนกับชีวิตจริง
4. เป็นการบูรณาการเพื่อจัดความซ้ำซ้อนของเนื้อหาต่างๆ
5. เป็นการบูรณาการให้เกิดความสัมพันธ์กันระหว่างความคิดรวบยอดของวิชาต่างๆ เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมาย
จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
การจัดการเรียนการสอนในการเขียนแผนการสอนของครูผู้สอนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท (การเขียนแผนแบบบูรณาการมีมากกว่านี้ ตามความเหมาะสม) ดังนี้
(1) การบูรณาการภายในวิชา มีจุดเน้นอยู่ภายในวิชาเดียวกันอาจนำวิชาต่างๆที่สัมพันธ์กันมาบูรณาการกันเองของวิชานั้นและไม่แยกหรือขยายไปกับวิชาอื่น
(2) การบูรณาการระหว่างวิชา มีจุดเน้นอยู่ที่การนำวิชาอื่นเข้าเชื่อมโยงด้วยกัน ตั้งแต่ 2 วิชาขึ้นไป โดยภายใต้หัวข้อเดียวกันว่าวิชาใดที่สามารถนำเข้ามาบูรณาการด้วยกันได้ ไม่จำเป็นว่าต้องทุกวิชาหรือทุกกลุ่มประสบการณ์เข้าด้วยกัน หรืออาจครบทุกวิชาหรือทุกกลุ่มประสบการณ์ก็ได้
การวางแผนการจัดทำแผนแบบบูรณาการ
การจัดทำแผนการสอนแบบบูรณาการ เป็นการนำวิชาหรือสาระการเรียนรู้ต่างๆที่มีความสัมพันธ์กันมาเชื่อมโยงกัน ซึ่งสามารถทำได้โดยการสร้างหัวข้อเรื่องที่มีความสอดคล้องกับวิชานั้นๆเข้าด้วยกัน ผู้สอนต้องคำนึงสิ่งต่อไปนี้
1. การเลือกหัวเรื่องจากประเด็นต่างๆที่ต้องการเรียน เช่น ประเด็นแนวคิด ประเด็นของเนื้อหา เมื่อได้แล้วนำจุดประสงค์ของแต่ละรายวิชาที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน เข้ามาสร้างเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
2. การนำจุดประสงค์ของรายวิชาต่างๆที่สัมพันธ์กันมาสร้างเป็นหัวข้อเรื่องและนำมาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
ประโยชน์ของการบูรณาการ
1. เป็นการนำวิชาหรือศาสตร์ต่างๆเชื่อมโยงกันภายใต้หัวข้อเดียวกัน
2. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนที่ลึกซึ้ง และมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริง
3. ช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้ความเข้าใจในลักษณะองค์รวม
4. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้ความเข้าใจจากสิ่งต่างๆที่มีอยู่รอบตัว
5. เป็นแนวทางที่ช่วยให้ครูได้ทำงานร่วมกัน หรือประสานงานร่วมกันอย่างมีความสุข
6. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูได้คิดวิธีการหรือนำเทคนิคใหม่ๆมาใช้
ทำอย่างไรจึงจะจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
1. ครูมีความเชื่อมั่นและเข้าใจตรงกันในเรื่องการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
2. ครูได้วางแผน ได้คิดกระบวนการเรียนรู้ และมีการประเมินผลร่วมกัน
3. ต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้ผู้เรียนสามารถค้นหาคำตอบได้ด้วยตนเองและได้ลงมือปฏิบัติจริง
4. เน้นการเรียนรู้ที่เกิดจากการนำวิชาต่างๆเชื่อมโยงกันมากกว่าที่จะเกิดจากเนื้อหาใดเนื้อหาหนึ่งเท่านั้น
5. มีการนำข้อมูล ทรัพยากรท้องถิ่น และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรียนรู้แบบองค์รวมหรือแบบบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
สามารถนำแนวทางในการเขียนแผนไปใช้ในการสอนเด็กได้ใน
แต่ละหน่วย โดยการเขียนแผนจะต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์ การวัด
และประเมินผล และการรับรู้ถึงพฤติกรรมทั้ง 4 ด้าน
ประเมินตนเอง
แต่งการเรียบร้อย ตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจเรียน และตอบคำถามภายในห้อง แต่งกายเรียบร้อย ช่วยกัน
ระดมความคิดทำแผนการสอนของตนเอง
ประเมินอาจารย์
อาจารย์ให้ความรู้ในการเขียนแผนการสอน และบอกแนวการเขียน
เพื่อใช้ในการสอนเด็กอนุบาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น