บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 30 กันยายน 2557 ครั้งที่ 7
เวลาเข้าสอน 08.00 น. เวลาเรียน 08.30 น.
เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมอยู่ 2 กิจกรรมที่นำมาให้นักศึกษาได้ทำ ดังนี้
กิจกรรมกังหันกระดาษ
1 กรรไกร
2 กระดาษ
ภาพกิจกรรม
ตัดกระดาษให้เป็นรูปใบพัด โดยให้เพื่อนๆในห้องได้สังเกต ลักษณะการโยนของเพื่อนๆแต่ละคนในการโยนกระดาษ
เด็กได้ทำสิ่งประดิษฐิ์และค่อยต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ เช่น การวาดภาพลงไปในกังหันกระดาษ การระบายสีให้มีสีสันสวยงาม
กิจกรรมนี้สามารถเชื่อมโยงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ดังนี้
air คือ สิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรา
wind คือ อากาศที่เคลื่อนที่ไปในทิศทางในแนวราบ เกิดจากการแทนที่ของอากาศ เนื่องจากอากาศใน
บริเวณที่ร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น ในขณะที่อากาศบริเวณใกล้เคียงที่อุณหภูมิต่ำกว่าจะเคลื่อนที่เข้ามาแทนที่
Weather proof คือ การที่เราเอาลูกโป่งหรือไม่ก็ถุงพลาสติกมาเป่าทำให้เกิดอากาศในถุง
ทำให้ถุงหรือลูกโป่งเกิดการพอ งตัวขึ้น
กิจกรรมที่2
บทความที่เพื่อนนำเสนอ
1 เรื่อง สะกิดให้ลูกคิดแบบวิทยาศาสตร์
สรุป คือ รูปแบบ 5 Es Modal ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนง่ายๆซึ่ง พ่อ แม่ สามารถนำไปฝึกให้ลูกคิดแบบ
วิทยาศาสตร์
- Engage การมีส่วนร่วม
- Explore สำรวจ
- Explain อธิบาย
- Elaborate รายละเอียด
- Evaluate ประเมิน
2 สนุกสนานเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่องไก่
สรุป การเรียนรู้จากนิทาน จัดกิจกรรม 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนแรก คือเด็กได้ร้องเพลง ไก่ พร้อมทั้งทำท่าทาง ประกอบเพลง อย่างอิสระ
ขั้นที่สอง ชวนเด็กตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ในการสืบค้น
ขั้นสุดท้าย ขั้นสรุป เด็กนำเสนอผลงานจากการสังเกตรูปร่างลักษณะของไก่และเป็ดผ่านการวาดภาพบนกระดาน เด็กได้รู้ว่าไก่และเป็ดมีรูปร่างลักษณะต่างกัน โดยค้นพบคำตอบด้ายด้วยตนเอง จากการสังเกตและเปรียบเทียบ
3 เรื่อง เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์
สรุป การสอนวิทยาศาสตร์ตามรูปแบบ 7 ประการที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ได้ผสมผสาน วิธีการสืบเสาะ
หาความรู้ด้วยตนเอง
1 การคาดหมาย (Expectation) หมายถึง วัตถุประสงค์กว้างๆ เป็นแนว ความคิดหรือการสร้างภาพกว้างๆ เกี่ยวกับบทเรียนขึ้นมา ครูจะต้องมีความยืดหยุ่นที่จะ ปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์นี้ไปตามสถานการณ์
2 สิ่งล่อใจ (Enticement)
คือ กิจกรรมที่จะสามารถชักชวนให้เด็กๆ สนใจ จะเรียนรู้ อาจจะออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น การใช้วีดีโอ การเล่าเรื่องสั้น การจัดตกแต่ง ห้องเรียน การใช้เสียงประกอบ ใช้อารมณ์ขันหรือการสาธิตให้ดู
3 การเข้าร่วมกิจกรรม (Engagement)
ช่วยให้เกิดความเข้าใจใน บทเรียน โดยอาจจะเป็นการนำเสนอหน้าชั้น การสาธิต หรือการทำกิจกรรมร่วมกัน
4 การอธิบาย (Explanation)
หลังจากที่ได้ช่วยกันพิจารณาวัตถุประสงค์ ที่ตั้งไว้จนเกิดความเข้าใจแล้ว ก็จะเป็นช่วงที่นักเรียนจะมีการอภิปรายร่วมกัน ในการอธิบาย แนวความคิดหลักต่างๆ ทั้งครูและนักเรียนอาจเป็นผู้ริเริ่มหัวข้าสนทนาได้ทั้งในกลุ่มเล็กและ กลุ่มใหญ่ แหล่งที่มาของข้อสนทนาก็อาจจะมาได้จากแหล่งต่างๆ
5 การค้นหา (Exploration)
จะช่วยผลักดันให้นักเรียนพิจารณาความรู้ และประสบการณ์ที่มีอยู่ นำมาเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของชั้นเรียน การทำกิจกรรมด้วย ตนเอง
6 การขยายความ (Extension) เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนนำความรู้ ของตนมาปรับใช้กับสถานการณ์ต่างๆ
7 หลักฐาน (Evidence)
เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนสะท้อนความรู้ ความคิดของตนออกมาทางการเขียนที่มิใช่การทำข้อสอบ นักเรียนจะต้องเขียนผลลัพธิ์ของ การทดลองเพื่อฝึกการจัดระบบความคิด และเชื่อมโยงความคิดกับความรู้สึก ประสบการณ์ที่มี และเรามีแนวการเขียนรายงานสั้นๆเรียกว่า ฟอร์ กอล์ฟเฟอร์ (FGOLFeRS)
4 เรื่องวิทยาศาสตร์ปฐมวัยจำเป็นหรือไม่
สรุป การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กและธรรมชาติเป็นสาระหลักสำหรับเด็กปฐมวัยในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยเน้นให้เด็กมีความสนุกกับการเรียน รู้จักสร้างสรรค์และคิดสร้างสรรค์
สาระวิทยาศาสตร์ที่เด็กเรียนจำแนกเป็น 4 หน่วย
หน่วยที่ 1 การสังเกตโลกรอบตัว
หน่วยที่ 2 การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้
หน่วยที่ 3 รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
หน่วยที่ 4 การจัดหมู่และการจำแนกประเภท
5 เรื่อง ส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก
สรุป ความคิดสร้างสรรค์ เป็นกระบวนการคิดที่เกี่ยวข้องกับการคิดสิ่งใหม่ๆ ซึ่งขัดแย้งกับความคิดเดิมๆ โดยดึงเอาประสบการณ์เก่าๆ ออกมาทั้งหมด และเลือกที่จะสร้างแบบแผนใหม่ๆ ออกมาให้ปรากฏ ซึ่งการจัดแบบแผนของการคิดใหม่นี้เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ความคิดคล่องตัว (Fluency) เป็นความสามารถที่ผลิตความคิดที่นุ่มนวลและรวดเร็วในการแก้ปัญหา และความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) เป็นความสามารถในการค้นพบลักษณะที่มีความหลากหลาย สมองมนุษย์ สามารถคิดเชื่อมโยงประสานสัมพันธ์กันระหว่างความรู้และประสบการณ์ ทำให้เกิดการต่อยอดความรู้เดิมและการต่อเติมจินตนาการออกไป
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
สามารถนำกิจกรรมที่อาจารย์สอนในวันนี้ไปปรับใช้ในการสอนเด็ก ทำให้เด็กเกิดทักษะกระบวนการคิดที่จะประดิษฐ์ สื่อในการเล่นในอนาคตต่อไปได้ค่ะ
ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน
ประเมินอาจารย์
อาจารย์สอนสนุก และก็พานักศึกษาทำกิจกรรมภายในห้องเรียน ในการประดิษฐ์สื่อที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ทำให้เด็ก เข้าใจเนื้อหาในการเรียนคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น