วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 14 ตุลาคม 2557 ครั้งที่ 9


 บันทึกอนุทิน


 วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ 
             
  วัน/เดือน/ปี   14  ตุลาคม 2557     ครั้งที่ 9 
                 
เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.

เวลาเลิกเรียน   12.20 น.


กิจกรรมในวันนี้

  วันนี้อาจารย์ให้ออกมานำเสนอสื่อสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์ที่

นักศึกษาได้จัดทำไว้


สิ่งประดิษฐ์ของดิฉันคือ  ผึ้งน้อยลอยน้ำ




วัสดุอุปกรณ์ 

  1. กระป๋องนม
  2. กระดาษแผ่นใส  สีต่างๆ
  3. ลูกตา
  4. กระดาษสี
  5. กาว
  6. กรรไกร
  7. สีเมจิก
  8. ดินน้ำมัน

วิธีการทำ



เมื่อได้วัสดุครบแ้ล้วก็มาลงมือกันได้เลยค่ะ

  1. นำกระป๋องเปล่าโลหะมาทำการถอดหูหิ้วออกก่อน
  2. นำสีน้ำมันมาทำการแต่งแต้มบริเวณรอบตัวกระป๋อง อาจทำเป็นขั้น ๆ สีดำสลับเหลืองคล้ายสีของตัวผึ้ง หรืำอทำสีตามภาพตัวอย่างก็ได้
  3. นำลวดเส้นใหญ่มาพ่นสีดำ และทำการโค้งให้เป็นวงรี ก่อนทากาวร้อนให้ทั่ววงลวดแล้วนำไปทาบกับผ้าโปร่งยืดสีดำ ทิ้งไว้ให้กาวแห้ง จากนั้นจึงใช้กรรไกรเล็มผ้ารอบนอกวงลวดออก เพื่อใช้ทำเป็นปีกจำนวน 2 ชิ้น
  4. นำปีกผ้ายืดโปร่งที่ทำไว้มาทำการติดบริเวณที่เป็นตำแหน่งของหูกระป๋องทั้งสองข้าง
  5. นำแหวนรองน็อตมาทาสีน้ำมันสีขาว ทิ้งไว้ให้แห้ง
  6. นำฝากระป๋องมาทำการเจาะรูบริเวณตรงกลางเพื่อทำเป็นส่วนจมูก และปาก (อาจใช้สว่านดอกเล็กเจาะนำแล้วจึงใช้เลื่อยสำหรับเลื่อยเหล็กทำการเลื่อยให้เป็นรูกลม 
  7. นำแหวนรองน็อตที่สีแห้งแล้ว มาทากาวติดบนฝากระป๋องในตำแหน่งตาผึ้ง
  8. นำฝากระป๋องปิดเข้าไปยังปากกระป๋องดังเดิม
  9. นำลวดมาทำการโค้งเพื่อทำเป็นหูสำหรับแขวนโดยใช้วิธีเจาะร้อยเข้าไปภายในตัวกระป๋อง
  

   เพียงเท่านี้เราก็จะได้ผึ้งน้อยแสนน่ารักที่ทำจากกระป๋องเปล่า ที่ทั้งน่ารักสดใส เป็นได้ทั้งของประดับบ้านและสวน แถมยังประยุกต์นำเทียนเข้าไปจุดไว้ภายในกระป๋องยามค่ำคืน เป็นการเพิ่มบรรยากาศโรแมนติคให้กับบ้านของเราได้อีกทางหนึ่งด้วยนะคะ



สรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ

          สิ่งประดิษฐ์ที่ได้ทำเป็นสื่อที่ใช้สำหรับสอนเด็กในการประดิษฐ์ที่ทำมาจากวัสดุเหลือใช้   เพราะ

การ ประดิษฐ์ชิ้นงานนี้ขึ้นสอดคล้องกับวิชาวิทยาศาสตร์  เช่น  แรงโน้มถ่วงของดินน้ำมันที่เราเอาใส่ใน

กระป๋องทำให้ผึ่งเกิดการลอยบนผิวน้ำ  และสื่อที่เพื่อนนำมาล้วนมีประโยนช์ในการใช้สอนกับเด็กปฐมวัย

เป็นอย่างมาก


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     เพื่อนำไปเป็นสื่อในการใช้เรียนการสอนให้สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์  และสามารถนำไปประยุกต์ใช้

ในการสอนเด็กให้มีความรู้เกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์วิทยาศาสตร์

ประเมินตนเอง
   
แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ ออกไปนำเสนอสื่อที่ได้เตรียมมาค่ะ

ประเมินเพื่อน


เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมตอบคำถามในห้องเรียนคะ


ประเมินอาจารย์

  วันนี้อาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับสื่อที่เพื่อนๆได้ออกมานำเสนอ แนวคิด  และหลักการของการประดิษฐ์

สื่อ และให้ความรู้ที่นอกเหนือจากที่เพื่อนได้นำเสนอ
























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น