บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 16 กันยายน 2557 ครั้งที่ 5
เวลาเข้าสอน 08.00 น. เวลาเรียน 08.30 น.
เวลาเลิกเรียน 12.20 น.
บทความขอเพื่อนที่ได้นำเสนอ
1 เรื่องสอนลูกเรื่องปรากฎการณ์ทางธรรมชาติสำคัญอย่างไร
สรุป เด็กได้ทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ การปฎิบัติ
2 เรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สรุป เด็กได้ทักษะ การสังเกต การจำแนก การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน
ความลับของแสง
แสง คือ พลังงานที่ปลดปล่อยออกจากอะตอม มันเป็นกลุ่มก้อนของพลังงานที่มีโมเมนตัมแต่ไม่มีมวล อนุภาคเหล่านี้เรียกว่า โฟตอน
อิเล็กตรอนคืออนุภาคที่มีประจุลบ หมุนอยู่รอบนิวเคลียสที่มีประจุเป็นบวก มีอยู่หลายตัว แต่ละตัวอยู่ในวงโคจรที่แตกต่างกัน พลังงานวัดได้จากระยะห่างจากนิวเคลียส ทำให้อิเล็กตรอนมีพลังงานในแต่ละระดับแตกต่างกัน กล่าวได้ว่า อิเล็กตรอนที่มีวงโคจรไกลจากนิวเคลียสมีพลังงานมากกว่าวงโคจรใกล้นิวเคลียส เมื่ออะตอมได้รับพลังงานจากภายนอก อิเล็กตรอนวงโคจรต่ำถูกกระตุ้นเปลี่ยนไปอยู่ในวงโคจรนี้ชั่วครู่และตกลงสู่วงโคจรเดิม ปลดปล่อยพลังงานออกไปในรูปของโฟตอน ซึ่งก็คือแสงนั่นเอง
ความยาวคลื่นของแสงที่ได้ขึ้นอยู่กับ ปริมาณของพลังงาน และตำเเหน่งของอิเล็กตรอน ดังนั้นอะตอมของธาตุแต่ละประเภท จะให้แสงที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกัน หรือจะกล่าวว่า สีของแสงขึ้นอยู่กับชนิดของอะตอมหรือธาตุที่ได้รับการกระตุ้น กลไกพื้นฐานดังกล่าวนี้ ใช้กับแหล่งกำเนิดแสงได้ทุกประเภท หลอดฟลูออเรสเซนต์ก็ใช้ได้เหมือนกัน
ปรากฎการณ์แสงเหนือ-แสงใต้
ไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นความสวยงามที่เกิดขึ้นจากห้วงอวกาศ แสงสกุสกาวสว่างไสว หลากสีสันจะปรากฎเกิดขึ้น ณ สุดขอบฟ้าอันไกลโพ้นคล้ายมานสวรรค์ ดุจดั่งแพรพรรณหลากสี แสงเหนือ-แสงใต้เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ ที่เกิดจากลมสุริยะที่ถูกพัดพามาจากดวงอาทิตย์มากระทบกับโลกของเรา ปราฎกการณ์ที่ว่ามานี้มักมีปราฎกการณ์ให้เห็นแถบขั้วโลก จึงมีโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก ปรากฎการณ์ แสงเหนือ เเสงใต้ หรือปรากฎการณ์ แสงขั้วโลก มีชื่อภาษาอังกฏษว่า Auror Polaris มักจะเิกิดขึ้นในขั้วโลกเหนือและใต้ โดยมีชื่อเรียกที่ต่างกัน ขั้วโลกเหนือจะขนานนามว่า Aurora Borealis หรือ แสงเหนือส่วนขั้วโลกใต้เรียกว่า Aurora Australis หรือแสงใต้ และถูกเรียกรวมๆกันว่า แสงออโรร่า
การสะท้อนของแสง
เมื่อมีลำแสงตกกระทบผิววัตถุจะทำให้ปรากฎการณ์ สะท้อนของแสงการสะท้อนของแสง เป็นไปตามกฎการสะท้อน
1.รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นแนวฉาก จะอยู่ในระนาบเดียวกันรังสีตกกระทบ หมายถึงสีที่แสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงที่ตกกระทบกับผิวของวัตถุ รังสีตกสะท้อน หมายถึงรังสีที่แสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของแสงที่สะท้อนออกจากผิววัตถุเส้นแนวฉากคือเส้นทางตรงที่ลากตั้งฉากกับผิววัตถุ ณ จุดที่รังสีตกกระทบผิววัตถุ
2.มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน
มุมตกกระทบ คือ มุมที่รังสีตกกระทบทำกับเส้นแนวมุมฉาก (มุม I)
มุมสะท้อน คือ มุมที่รังสีสะท้อนทำกับเส้นแนวฉาก (มุม R)
สีของแสง
การมองเห็นสีต่าง ๆ บนวัตถุเกิดจากการผสมของแสงสี เช่น แสงขาวอาจเกิดจากแสงเพียง 3 สีรวมกัน แสงทั้ง 3 สี ได้แก่ แสงสีแดง แสงสีเขียว และแสงสีน้ำเงิน หรือเรียกว่า สีปฐมภูมิ และถ้านำแสงที่เกิดจากการผสมกันของสีปฐมภูมิ 2 สีมารวมกันจะเกิดเป็น สีทุติยภูมิ ซึ่งสีทุตยภูมิแต่ละสีจะมีความแตกต่างกันในระดับความเข้มสีและความสว่างของแสง ดังภาพ
เรามองเห็นวัตถุที่เปล่งแสงด้วยตัวเองไม่ได้ก็เพราะมีแสงสะท้อนจากวัตถุนั้นเข้าสู่นัยย์ตาของเรา
และสีของวัตถุก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแสงที่สะท้อนนั้นด้วย โดยวัตถุสีน้ำเงินจะสะท้อนแสงสีน้ำเงินออก
ไปมากที่สุด สะท้อนแสงสีข้างเคียงออกไปบ้างเล็กน้อย และดูดกลืนแสงสีอื่น ๆ ไว้หมด ส่วนวัตถุสีแดง
จะสะท้อนแสงสีอดงออกไปมากที่สุด มีแสงข้าวเคียงสะท้อนออกไปเล็กน้อย และดุดกลืนแสงสีอื่น ๆ ไว้
หมด สำหรับวัตถุสีดำจะดูดกลืนทุกแสงสีและสะท้อนกลับได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ดังภาพ
การหักเหของแสง (Refraction of Light)
เมื่อแสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางโปร่งใส เช่น อากาศ แก้ว น้ำ พลาสติกใส แสงจะสามารถเดินทางผ่านได้เกือบหมด เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางชนิดเดียวกัน แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงเสมอ แต่ถ้าแสงเดินทางผ่านตัวกลางหลายตัวกลาง แสงจะหักเห
สาเหตุที่ทำให้แสงเกิดการหักเห
เกิดจากการเดินทางของแสงจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่งซึ่งมีความหนาแน่นแตกต่างกัน จะมีความเร็วไม่เท่ากันด้วย โดยแสงจะเคลื่อนที่ในตัวกลางโปร่งกว่าได้เร็วกว่าตัวกลางที่ทึบกว่า เช่น ความเร็วของแสงในอากาศมากกว่าความเร็วของแสงในน้ำ และความเร็วของแสงในน้ำมากกว่าความเร็วของแสงในแก้วหรือพลาสติก
การที่แสงเคลื่อนที่ผ่านอากาศและแก้วไม่เป็นแนวเส้นตรงเดียวกันเพราะเกิดการหักเหของแสง โดยแสงจะเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า ( โปร่งกว่า) ไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่า ( ทึบกว่า) แสงจะหักเหเข้าหาเส้นปกติ ในทางตรงข้าม ถ้าแสงเดินทางจากยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นมากกว่า ไปยังตัวกลางที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า แสงจะหักเหออกจากเส้นปกติ
การนำไปประยุกต์ใช้
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้สามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตได้เป็นอย่างดี ในเรื่องมหัศจรรย์ของแสง และเอา
ความรู้ที่อาจารย์สอนและบทความของเพื่อนๆ จากที่ได้ฟังสามารถนำไปบูรณาการสอนเด็กได้เป็นอย่าง
ดี
สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้สามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตได้เป็นอย่างดี ในเรื่องมหัศจรรย์ของแสง และเอา
ความรู้ที่อาจารย์สอนและบทความของเพื่อนๆ จากที่ได้ฟังสามารถนำไปบูรณาการสอนเด็กได้เป็นอย่าง
ดี
ประเมินตนเอง
ตั้งใจเรียน และเพื่อนออกมานำเสนอบทความและ ฟังอาจารย์บรรยายหน้าห้อง การแต่งตัวในวันนี้แต่งกายเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน
ตั้งใจเรียนเป็นบางคน เพราะมีปัญหาในสื่อการใช้สอน ลำโพงไม่ค่อยดัง ทำให้เพื่อนๆไม่ค่อยได้ยิน แต่งกายเรียบร้อย
ประเมินอาจารย์
วันนี้อาจารย์ยังสอนไม่เต็มที่เนื่องด้วยมีภารกิจที่ต้องไปทำ และสอนในบางเรื่องค่ะ
วันนี้อาจารย์ยังสอนไม่เต็มที่เนื่องด้วยมีภารกิจที่ต้องไปทำ และสอนในบางเรื่องค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น